ปัจจัยที่ส่งผลต่อปัญหาคุณภาพอากาศภายในอาคารสำนักงานอาคารราชการทั่วไปพบว่ามักได้รับการออกแบบ

เป็นแบบปิดทึบจัดมีระบบปรับอากาศและโดยส่วนใหญ่พบว่ามีการนำอากาศจากด้านนอก

เข้ามาในอาคารเล็กน้อยเพื่อลดค่าใช้จ่ายเรื่องระบบปรับอากาศ ทำให้อากาศที่หมุนเวียนอยู่ในอาคารเป็นอากาศเดิม

จะทำให้สถานที่ทำงานกลายเป็นแหล่งสะสมของสารเคมีฝุ่น กลิ่นเชื้อโรคทำให้รู้สึกไม่สบายและเป็นสาเหตุของโรคติดต่อ

ซึ่งเป็นภัยเงียบบั่นทอนประสิทธิภาพการทำงานและสุขภาพอนามัยของคนทำงานได้

การเจ็บป่วยด้วยโรคที่เกิดจากการทำงานในอาคารมักมีอาการไม่รุนแรงแต่มีผลทำให้เกิดอาการทางกายและส่งผล

ต่อประสิทธิภาพการทำงาน โดยกลุ่มอาการเจ็บป่วยมี 2 ลักษณะ กลุ่มแรกเรียกว่า อาการเจ็บป่วยจากอาคารเป็นอาการที่

เกิดขึ้นเมื่อเข้าไปอยู่ในอาคาร และจะหายไปเมื่อออกจากอาคาร ไม่สามารถระบุสาเหตุการเจ็บป่วยได้ชัดเจน เช่น

อาการระคายเคืองตา ตาแสบ ตาแห้ง น้ำตาไหลตาแดง อาการคัดจมูก ระคายเคืองในจมูก ฯลฯ กลุ่มที่สอง

เรียกว่า การเจ็บป่วยจากอาคาร สามารถระบุสาเหตุได้ชัดเจนที่เป็นผลมาจากอากาศในอาคารปนเปื้อนมลพิษ

เช่นโรคปอดอักเสบจากลิจิโอเนลล่าการเจ็บป่วยนี้จะไม่หายไปแม้ออกจากอาคารไปแล้วก็ตาม 

นอกจากนี้สำนักอนามัย กรุงเทพมหานครได้ดำเนินการเฝ้าระวังคุณภาพอากาศในอาคารสาธารณะอื่นอย่างต่อเนื่อง

โดยให้ความร่วมมือในการตรวจสอบอาคารสาธารณะต่างๆที่ประสบปัญหาคุณภาพในอาคารและในปีพ.ศ.2551 ได้ศึกษา

ประเมิณคุณภาพอากาศในอาคารสาธารณะประเภทโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร โรงภาพยนตร์ ห้างสรรพสินค้าหรือศูนย์การค้า

และอาคารสูง( อาคารสำนักงาน ) รวมจำนวน 132 แห่ง พบว่าอาคารสาธารณะมีปัญหาคุณภาพอากาศไม่เป็นไปตามค่าเสนอแนะ

ด้านคุณภาพอากาศในอาคารรวมทั้งบางแห่งในเชื้อรา หรือ เชื้อแบคทีเรียในอากาศเกินกว่าเกณฑ์ค่าเสนอแนะ

 

 

Free Web Hosting